พระกริ่งนางพญา (พระกริ่งราชมารดา)

วัดนางพญานี้เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ แต่เดิมวัดนางพญาและวัดราชบูรณะมีอาณาเขตติดต่อกัน แต่พอมีการสร้างสะพานสมเด็จพระนเรศวรและสร้างถนนตัดผ่าน จึงแยกวัดนางพญาและวัดราชบูรณะอยู่กันคนละฝั่งถนน วัดนางพญาจึงเหลืออาณาเขตเล็กๆ เท่านั้น การได้ชื่อว่า “วัดนางพญา”ชื่อ ของ พระนางพญา น่าจะมาจากสถานที่ที่ค้นพบนั่นเอง วัดนางพญานี้สันนิษฐานว่า ผู้สร้างพระนางพญาคือ พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระ มเหสีของพระมหาธรรมราชา และทรงเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงสร้างพระนางพญาขึ้นในคราวบูรณะปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ ราวปี พ.ศ. 2090 - 2100 ขณะนั้นพิษณุโลกเป็นเมืองลูกหลวง และพระองค์ดำรงพระอิสริยยศเป็นแม่เมืองสองแคว และพระมหาธรรมราชาทรงพระอิสริยยศที่ พระอุปราช แห่งแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ กรุงศรีอยุธยา

พระกริ่งนางพญาเป็นพระปางมารวิชัย ประทับบนบัวชั้นเดียว เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพิมพ์ที่งดงามอลังการมาก ยากจะหาใดเทียบ เป็นกริ่งรุ่นแรกของ วัดนางพญา พิษณุโลก ตอกโค๊ตกันปลอมแปลง นับเป็นพระกริ่งยอดนิยมอีกพิมพ์หนึ่งซึ่งถูกบรรจุอยู่ในรายการประกวดพระ เครื่องทุกงาน นิยม และหายากมาก สภาพสวยมาก อนาคตไกล

พระกริ่งนางพญาเป็นพระกริ่งรุ่นแรกของวัดนางพญาพิษณุโลก จัดสร้างวันที่ 30 มกราคม พุทธศักราช 2514 ได้รับการออกแบบและแกะแม่พิมพ์โดยนายช่างเกษม มงคลเจริญ พุทธลักษณะ พระกริ่งนางพญาเป็นพระปางมารวิชัย ประทับบนบัวชั้นเดียว จัดเป็นพระกริ่งยอดนิยมและหายาก มีความคมชัด งดงามและอ่อนช้อยที่สุดในบรรดาพระกริ่ง อุดกริ่งลงยันต์ ตอกโค้ดซ้ายขวา รูปแบบพิมพ์พระ เป็นการถ่ายทอดพุทธศิลป์จากพระบูชาอยุธยาทรงเครื่อง(ทรงเทริด) ได้วิจิตรสวยงามจากพระเกศจรดปลายฐาน สภาพสวย คมชัด สมบูรณ์
พิธีมหาพุทธาภิเษก โดยอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดา เป็นเจ้าพิธี โดยจัดพิธีปลุกเสกครั้งยิ่งใหญ่และได้นิมนต์พระเกจิดังต่างๆมากมาย
พระอาจารย์ไสว ได้หมายให้ ช่าง เกษม มงคลเจริญ เป็นผู้ออกแบบ และ ท่านได้จาร แผ่น เงินทอง เต็มตำรา 108 แผ่น พร้อมทั้งได้นำเอาพระกริ่งที่ท่านสร้างไว้หลายรุ่น นำมาหล่อหลอมด้วย สมเด็จป๋า วัดโพธิ์ เมื่อครั้งนั้น มีสมณศักดิ์ ที่ สมเด็จพระวันรัตน เป็นประธานเททอง ก้นฐานตอกอักขระ 2 โค๊ด ก้นอุดกริ่ง ลักษณะฝากริ่ง เป็นรูปดอกบัว
พระกริ่งนางพญาจัดสร้างโดย วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก สมัยพระอาจารย์ ถนอม เขมจาโร และพระครูบวรชินรัตน์ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณณสิริ) ซึ่งต่อมาเป็น สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และทรงจุดเทียนชัย
พระอาจารย์ ไสว สุมโน เป็นเจ้าพิธี
พระครูวามเทพมุนี เป็นประธาน ฝ่ายพราหมณาจารย์
พลโท สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาพที่ 3 เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
และหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ทำพิธีดับเทียนชัย
วัตถุประสงค์
เพื่อจัดหาจตุปัจจัยในการสร้างพระอุโบสถ วัดนางพญา เพื่อเป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมแห่งสงฆ์ โดย เริ่มต้นดำเนินการเมื่อวันพุธ ที่ 29 มกราคม 2512 เวลา 9 นาฬิกา 12 นาที เป็นปฐมฤกษ์ตาม พระฤกษ์สร้างพระอุโบสถที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ ได้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกมหาจักรพรรดิตราธิราชตามจารีตประเพณีโบราณาจารย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2514 ในวิหารวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เจ้าอาวาสวัดนางพญาเล่าว่าพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนั้นต้องเรียกว่าเป็นอภิมหาพิธี พุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ ที่สุด ในยุคนั้นมีสุดยอดเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศร่วมพิธี อาทิเช่น
1.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ ฉิมพลี
2.หลวงปู่ฝั้น อาจาโร สกลนคร
3.หลวงพ่อผาง ขอนแก่น
4.หลวงปู่แหวน เชียงใหม่
5.หลวงพ่อเกษม ลำปาง
6.หลวงพ่อแพ เป็นต้น
มีการถ่ายทอดเสียงออกอากาศทางสถานีวิทยุ ไปทั่วประเทศตลอดวัน ตลอดคืน เริ่มตั้งแต่เวลา 06.05 น.ประกอบพิธีบวงสรวงครูบาจารย์ และอดีตเจ้าอาวาสตามด้วยพิธีถวายเครื่องสักการบูชา พระ พุทธชินราช พิธีถวายเครื่องสักการะบูชาบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พิธีถวายเครื่องสักการบูชาพระคุณพระรัตนตรัย พิธีบวงสรวงเทพยดาและพิธีบวงสรวงบูชาฤกษ์ เวลา 16.00 น. สมเด็จพระวันรัต ประธานฝ่ายสงฆ์ ทรงอธิษฐานจิตจุดเทียนชัย พระคณาจารย์จากทั่วประเทศนั่งปรกรอบมณฑลพิธีภาวนาปลุกเสกตลอดเวลา เวลา 19.30 น. จุดเทียนชัยมหาพุทธาภิเษก เวลา 02.00 น. เริ่มต้นสวดคาถาพระจักรพรรดิ์ตราธิราช พระคณาจารย์นั่งปรกเจริญภาวนาปลุกเสกตลอดรุ่ง และหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมได้กระทำพิธีดับเทียนชัย ณ เวลา 06.05 น.

สนใจเช่าบูชา ติดต่อ 081-4980049


พระกริ่งนางพญา 4,500 บาท




พระชัย ธรรมราชา 2,000 บาท