พระกริ่งสิทธัตโถ
วัดบรมนิวาส(วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร)
วัดนี้ถูกสร้างเพื่อถวายให้แด่รัชกาลที่ 4 สมัยที่ท่านยังเป็นพระภิกษุ โดยวัดนี้ถูกสร้างเพื่อให้เป็นวัดฝ่ายอรัญวาสีหรือวัดฝ่ายปฏิบัติ คู่กับวัดบวรนิเวศวิหาร
ซึ่งเป็นวัดฝ่ายคามวาสีหรือฝ่ายปริยัติ ด้วยเหตุนี้เมื่อพระป่าสายกรรมฐานเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ จึงมักมาพำนัก ณ วัดแห่งนี้
ดังนั้นเมื่อทางวัดโดยพระครูสังฆบริรักษ์มโนรมย์ ได้มีดำริจัดทำพระกริ่งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ(ตามปรารภของสมเด็จพระสังฆราช ญาโณทัย วัดสระเกศ)
จึงได้นิมนต์เชิญพระป่าสายกรรมฐานเพื่อร่วมพิธี และมักจะได้รับนิมนต์เสมอถึงแม้ท่านอาจารย์ทั้งหลายจะไม่ค่อยยอมรับนิมนต์ ร่วมปลุกเศกในพิธีต่างๆ
พระกริ่งสิทธัตโถ(มีความหมายว่า ผู้ประทานความสำเร็จ)
พระกริ่งสิทธัตโถที่จัดสร้างโดยพระครูสังฆบริรักษ์ มีทั้งหมดเพียง 5 รุ่นด้วยกัน โดยจัดสร้างขึ้นทั้งหมด 5 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2508 2510 2512 2516 และครั้งสุดท้ายคือปี 2517
โดยนำชนวนเดิมจากพิธีดีๆต่างๆทั่วประเทศมาทำการจัดสร้างพระกริ่งสิทธัตโถ และได้นิมนต์เชิญครูบาอาจารย์ต่างๆและพระป่าสายกรรมฐานที่เป็นที่นับถือทั่วประเทศมาร่วมพิธี
จัดว่าเป็นพิธีดีที่สุดพิธีหนึ่งในประเทศไทย เทียบเท่าพิธี 25 พุทธศตวรรษ กล่าวคือ ดีนอกและดีใน ครบถ้วนตามหลักทุกประการ
ประสบการณ์
ในปี พ.ศ. 2542 พระครูปลัดวินัยวัฒน์ (กิตติ ธีรวีโร) เล่าว่าได้เกิดเพลิงไหม้ ศาลาอุรุพงษ์ ซึ่งเป็นศาลาไม้ขนาดใหญ่ที่สร้างมาเก่าแก่นานกว่า 80 ปี
พระเพลิงได้เผาผลาญอย่างรวดเร็วเพราะเป็นไม้เก่าประกอบกับทางเข้า วัดบรมนิวาส เป็นทางคับแคบที่รถดับเพลิงเข้าถึงได้ยากกว่าจะทำการดับเพลิงได้
ศาลาอุรุพงษ์ ก็แทบกลายเป็นจุณแล้วทั้งหลังมีเหลือเพียงตู้ไม้เก่า ๆ ตู้หนึ่งที่ พระเพลิงไม่ได้เผาผลาญ ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ท่ามกลางกองเถ้าถ่าน
ที่เหลือเพียงควันไฟคละคลุ้งทั่วบริเวณ พระภิกษุ สามเณร และ ชาวบ้าน ที่มุงดู เหตุการณ์จึงตรงเข้าไปสำรวจดูตู้ไม้ตู้นั้นก็พบว่าภายในมี
พระกริ่งสิทธัตโถ ตั้งเรียงอยู่บนชั้นไม้ในตู้ที่สภาพยังคงเดิมทั้งที่เป็นไม้เก่า ๆ แม้แต่กระจกตู้ก็ไม่แตกสลายหรือมีคราบเขม่าไฟแต่ประการใดและ
ที่น่าอัศจรรย์อย่างที่สุด ก็คือมี มดจำนวนมาก เข้าไปอาศัยอยู่ในตู้รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนนับล้านตัว และอีกส่วนหนึ่งเกาะล้อมรอบ
พระกริ่งสิทธัตโถที่ตั้งเรียงรายอยู่ในตู้หลายสิบองค์จนแทบมองไม่เห็นองค์ พระกริ่ง เลย ประการสำคัญ มดจำนวนนับล้านตัวเหล่านี้ยังมีชีวิต
เหมือนกับไม่ได้ถูกความร้อนจากพระเพลิงที่ฮือโหม ศาลาอุรุพงษ์ แต่ประการใดสร้างความ อัศจรรย์ใจ ให้กับ พระภิกษุ สามเณร และชาวบ้านที่เข้าไปสำรวจตู้ไม้นั้นเป็นอย่างยิ่ง
รายนามผู้ร่วมพิธี
สมด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ เป็นประธานเททอง ร่วมปลุกเสกโดย
-หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตาราม
-หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
-หลวงพ่อแก้ว วัดอรัญญิกาวาส
-หลวงพ่อนอ วัดกลาง ท่าเรือ อยุธยา
-หลวงพ่อเขียน วัดพิชัยสงคราม
-หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน
-หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย
-หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
-หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุนาราม
-หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
-หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์
-หลวงพ่อทอง วัดถ้ำจักกระจั่น
-พระอาจารย์ทรงชัย วัดพุทธมงคลนิมิตร
-หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์
-หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดถ้ำขาม
-หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล
-พระอาจารย์บัว วัดป่าสถิตย์
-พระอาจารย์บุญมา วัดสิริสารวัน
-พระอาจารย์จันทร์ วัดศรีภูเวียง
-หลวงปู่สิม วัดสันติธรรม
-หลวงพ่อบัว วัดป่าหนองแซง
-พระอาจารย์คำพอง วัดราษฎร์โยธี
-พระมหาถวัลย์ วัดหนองบัวทอง
-พระอาจารญ์คำไหม วัดอรุณรังสี
-พระอาจารย์คำผิว วัดป่าหนองแซง
-พระครูสิสิฐสรคุณ วัดอรัญญิกาวาส
-หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล
-พระอาจารย์ปทุม วัดไทรงาม
-พระอาจารย์อำนวย วัดเสาธงกลาง
-พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิราชาวาส
-พระอาจารย์วงษ์ วัดปริวาส
-พระอาจารย์ชื่น วัดตำหนัก
-หลวงปู่ตื้อ วัดอโศการาม
-หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร
-หลวงพ่อแก้ว วัดโพธ์
-หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์
-หลวงปู่ฝั้น วัดถ้ำขาม
-หลวงปู่จวน วัดภูทอก
-หลวงปู่วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์
-หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
-หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
จากนั้นนำไปให้หลวงปู่แหวนและเจ้าคุณนร ปลุกเสกเดี่ยวอีกในภายหลัง
นอกจากนั้น ชนวนพระกริ่ง ยังได้จากพระอาจารย์ต่างๆมากมายทำการลงยันต์และอักขระ และที่พิเศษคือได้แผ่นชนวนจากพระสงฆ์ระดับพระราชาคณะถึง 108 รูป
คาถาบูชาพระกริ่งคือ
สิทธัตโถ อะสะโมโลเก (3 หรือ 9 จบ)
สนใจโทรสอบถาม 081-4980049 มีหลายรุ่นแบ่งให้บูชาได้ครับ โดยเฉพาะรุ่นแรกและพระชัย มีเยอะแต่ไม่ได้ถ่ายรูปโชว์ครับ
บทความพิเศษพระกริ่งสิทธัตโถรุ่นแรก
เนื่องจากปัจจุบันพระกริ่งสิทธัตโถ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายอีกทั้งได้มีการนำเสนอเรื่องราวทางสื่อต่างๆอีกมากมาย ได้แก่ หนังสือพิมพ์ หนังสือพระเครื่อง
รวมทั้งรายการทางโทรทัศน์อีกด้วย แต่ก็ยังมีข้อสงสัยหลายอย่างที่วงการพระเครื่อง ยังมีข้อคิดเห็นที่หลากหลาย เป็นที่สงสัยของคนที่สนใจพระกริ่งสิทธัตโถ
จึงเป็นที่มาของบทความนี้ ที่เกิดจากการสังเคราะห์จากข้อมูลต่างๆที่ได้พบได้พูดคุยกับบุคคลต่างๆ รวมทั้งประเมินจากความเข้าใจส่วนตัว เพื่อนำมาเขียนเป็นบทความนี้
ดังนั้นจึงขออนุญาตออกตัวและสงวนสิทธิก่อนว่า ใครจะเชื่อในบทความนี้หรือไม่ ถือเป็นสิทธิส่วนตัวของท่าน แต่ห้ามนำไปอ้างอิงประกอบความเห็นต่างๆในที่อื่นใดทั้งสิ้น
- เรามาเริ่มจากจำนวนพิมพ์ของพระกริ่งสิทธัตโถก่อน ว่าจริงๆแล้วพระกริ่งสิทธัตโถรุ่นแรก มีกี่พิมพ์กันแน่
จากความเข้าใจส่วนตัว ในตอนที่มีการจัดสร้าง ทางผู้จัดสร้างคือ พระมหาชลอและพระครูสังฆ์ คงคิดว่าจะสร้างเพียงพิมพ์เดียว คือ พิมพ์แต่ง ที่เป็นที่นิยมและหายากมากในปัจจุบัน
(รวมถึงมีการสร้างเลียนแบบหรือเก๊ มากด้วยเช่นกัน) แต่เนื่องจากพระมหาชลอไม่มีความรู้ในการสร้างพระ และในขณะเดียวกันพระครูสังฆ์ที่สามารถสร้างพระได้
แต่ก็คงไม่นึกถึงปัญหาด้านการจัดการ อีกทั้งการสร้างพระกริ่งสิทธัตโถ ก็ถือเป็นงานสร้างพระเครื่องงานใหญ่ครั้งแรกของทั้งคู่ จึงไม่ได้นึกถึงปัญหาว่าสามารถสร้างพระได้ตามจำนวน
ในเวลาที่ทันกำหนดการต่างๆหรือไม่ ขอให้ท่านได้พยายามลองพิจารณาดูนะครับว่า การแต่งพระกริ่งแต่ละองค์จะต้องใช้เวลาเท่าไร ซึ่งกรณีนี้มีเพียงพระครูสังฆ์ที่รับผิดชอบงานนี้คนเดียวเท่านั้น
สมมุติว่าท่านไม่ต้องทำกิจของสงฆ์อะไรเลย และสามารถแต่งพระกริ่งได้วันละ 1 องค์ การสร้างและแต่งพระกริ่งจำนวน 2000 - 3000 องค์ จะต้องใช้เวลาเกือบสิบปีถึงจะทำสำเร็จ
แต่จริงๆแล้วท่านก็ต้องทำกิจของสงฆ์อื่นๆมากมายและใช้เวลาว่างเพื่อทำการแต่งพระ ซึ่งคงไม่ทันกำหนดการพุทธาภิเษกแน่นอน และปัญหานี้จึงเป็นที่มาให้
พระมหาชลอได้ให้บุคคลอื่นเข้ามาร่วมจัดสร้างพระกริ่งสิทธัตโถ เพิ่มขึ้นมาอีก 1 พิมพ์ ซึ่งก็คือพิมพ์เล็กนั่นเอง ซึ่งพิมพ์นี้มีหลายท่านเข้าใจว่าเป็นพิมพ์เสริม
จึงอาจไม่เป็นที่นิยมสำหรับบางคนในวงการพระเครื่อง แต่จากเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว จึงอาจกล่าวได้ว่า พิมพ์เล็ก นี้เป็นพิมพ์เสริมจริง
แต่ก็นำไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกเช่นเดียวกันกับพิมพ์แต่ง เนื่องจากไม่สามารถจัดสร้างได้ทันตามจำนวนที่ต้องการนั่นเอง
พระกริ่งสิทธัตโถ รุ่นแรก พิมพ์เล็ก
พระกริ่งสิทธัตโถรุ่นแรก พิมพ์แต่ง

จากรูปข้างบนจะเห็นได้ชัดเจนว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะมีเพียงพิมพ์เดียว โดยการนำพิมพ์เล็กไปแต่งแล้วได้เป็นพระกริ่งสิทธัตโถพิมพ์แต่ง
เพราะโครงหน้าของพระกริ่งพิมพ์แต่งนั้นใหญ่กว่า ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะแต่งพระกริ่งที่หน้าเล็กไปเป็นหน้าใหญ่กว่าได้ เพราะการแต่งพระกริ่ง คือ
การที่ขูดเอาเนื้อพระกริ่งออกไป จนเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหน้าตา มิได้เป็นการเสริมเนื้อโลหะเข้าไป
- จำนวนพระกริ่งสิทธัตโถ รุ่นแรก มีจำนวนเท่าไร
จากความเห็นส่วนตัวและเหตุผลที่ได้กล่าวข้างต้น จึงเชื่อได้ว่าจำนวนพระพริ่งที่แท้จริงคงจะมีมากกว่าที่กำหนดจะสร้างแน่นอน เพราะสร้างเสริมเนื่องจากทำพระกริ่งพิมพ์แต่งไม่ทัน
แต่ก็คงไม่มีใครทราบจำนวนที่แท้จริง เพราะพระมหาชลอและพระครูสังฆ์คงจะแยกกันสร้างเพื่อให้ได้จำนวนไม่น้อยกว่าที่มีการกำหนดไว้แน่นอน
และค่อนข้างแน่นอนว่าพิมพ์แต่งจะต้องมีจำนวนการสร้างที่น้อยกว่ามากๆแน่นอนจากเหตุผลที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น และเนื่องจากพิมพ์เล็กมีหน้าตาที่ไม่ค่อยสะสวยเท่าไร
ก็จะมีบางส่วนถูกนำไปทำเป็นพิมพ์แต่งเช่นกัน แต่ก็มีหน้าตาที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับพระกริ่งพิมพ์แต่งแบบเดิม
- สนใจพระกริ่งสิทธัตโถ แต่ไม่มีความรู้ ควรจะเล่นพิมพ์ไหนดี
เนื่องจากปัจจุบันพระกริ่งสิทธัตโถ ได้ถูกถามหาจากคนสนใจพระเครื่องมากมายด้วยหลายเหตุผล ได้แก่ ฟังเขาเล่ามา พบเห็นจากสื่อต่างๆ
รวมทั้งได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์ต่างๆที่ได้เข้าร่วมในพิธี ทำให้ราคาพระกริ่งสิทธัตโถมีราคาที่สูงมาก ทำให้มีการปลอมแปลงพระกริ่งรุ่นแรกออกมามากมาย
จากที่ได้พบเห็น เว็บพระเครื่องหลายที่ได้มีการออกใบรับรองพระกริ่งสิทธัตโถรุ่นแรกที่เป็น พระเก๊ อยู่หลายครั้ง จึงอยากจะแนะนำดังนี้ครับว่า
ถ้าท่านมีความชำนาญและมั่นใจในความรู้ของท่าน ก็ขอให้เลือกพระกริ่งพิมพ์แต่งไว้ก่อน เพราะมีความสวยงามและมีจำนวนการสร้างที่น้อยจริงๆ
แต่ก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น เพราะมีของเก๊ออกมามากมาย แต่ถ้าไม่มีความชำนาญก็ขอแนะนำให้เล่นหาพระกริ่งพิมพ์เล็กแทน
เพราะเท่าที่ทราบยังไม่เคยพบเห็นของเก๊ออกมาระบาด เนื่องจากคนทั่วไปไม่นิยม เพราะส่วนมากเข้าผิดใจว่าเป็นพิมพ์เสริมที่สร้างในภายหลังนั่นเอง
แต่หารู้ไม่ว่าเป็นของแท้ที่ราคาถูกกว่าพิมพ์แต่งมากมาย
- เรื่องลับที่คนส่วนมากยังไม่รู้
โค๊ด ที่ใช้ตอกพระกริ่งสิทธัตโถ ไม่ได้ถูกทำลายหลังจากสร้างเสร็จนะครับ จะเห็นได้ว่า โค๊ดที่ถูกใช้ในรุ่นก่อน ถูกนำมาใช้ในรุ่นหลังๆและพระเครื่องต่างๆด้วยเช่นกัน
(พระกริ่งสิทธัตโถมีทั้งหมด 5 รุ่นคือ ปี 2508 2510 2512 2516 และ 2517) และในปัจจุบันก็คาดว่ายังอยู่ที่ไหนสักแห่ง
ส่วนตัวเคยเห็นพระเก๊แต่โค๊ดแท้มาแล้วนะครับ (หากอยากรู้รายละเอียดสามารถมาคุยกับผมได้ครับ)
พระกริ่งสิทธัตโถพิมพ์เป็นของปี 2512 แต่ตอกเป็นปี 2508 ก็มี ดังนั้นก็ระวังไว้หน่อยนะครับ เชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่ท่าน แต่อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า
ห้ามนำเรื่องในบทความนี้ไปเผยแพร่ในที่อื่นใดทั้งสิ้น ถ้าละเมิดก็เตรียมตัวได้เลยครับ
-วิธีสังเกตุคร่าวๆ ระหว่างพระแท้และพระเก๊ รวมทั้งวิธีดูเนื้อพระ ระหว่างเนื้อทองผสมและเนื้อนวะ
จากที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด ถ้าเป็นพระกริ่งพิมพ์เล็ก ปัจจุบันก็ค่อนข้างมั่นใจว่าแท้ทั้งหมด (เมื่อนิยมขึ้นมาคงจะมีของเก๊ในอนาคต) ส่วนพระกริ่งพิมพ์แต่ง
ซึ่งจริงๆแล้วก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบอีกเช่นกัน คือ แต่งนิดเดียว หรือแต่งสวย ถ้าแต่งนิดเดียวก็ต้องดูวิธีการหล่อพระ ซึ่งหล่อแบบโบราณ ไม่ได้ใช้เบ้าประกบ
องค์พระจะใหญ่กว่าพระกริ่งทั่วไป ส่วนพิมพ์แต่ง ก็จะต้องมีการแต่งที่สวยงาม ไม่ใช่การแต่งพระแบบรวกๆ ตุดตู่ที่พระเศียรต้องเรียงสวยงาม ถ้ามีโค๊ด จะต้องคม ชัดและลึก
ที่สำคัญคือจะต้องจำเค้าโครงหน้าให้ได้ ถ้าผิดแผกแตกต่างให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเป็นปีหลังๆ(นำมาแต่งแล้วตอกโค๊ดเป็นรุ่นแรก) ไม่ใช่รุ่นแรก
และสุดท้ายคือตัวอุดกริ่งจะต้องใหญ่ ถ้าเป็นพิมพ์เล็กเสียงกริ่งจะดังชัดเจนไม่มีกริ่งขัด ผมยังไม่เคยเจอพระกริ่งรุ่นแรกที่มีกริ่งขัดเลย
เพราะเจาะด้วยรูขนาดใหญ่จึงมีโอกาสเกิดกริ่งขัดได้น้อยมากถึงไม่มีเลยก็ว่าได้
ส่วนวิธีการแยกเนื้อพระ จะดูยากมาก ขนาดเซียนพระหลายท่านยังดูไม่ออก เพราะเนื้อนวะของพระกริ่งสิทธัตโถ ไม่ได้เกิดจากการนำชนวนเก่าจากที่อื่นมาใช้
ทำให้พระกริ่งเนื้อนวะไม่ดำเข้มเหมือนพระกริ่งเนื้อนวะของวัดสุทัศน์ ยกเว้นเนื้อนวะก้นครกจริงๆ คือเนื้อโลหะหนักนอนก้น พระที่หล่อท้ายๆก็จะมีสีเข้มที่สังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจน
ดังนั้นเนื้อนวะของพระกริ่งสิทธัตโถ จะดูสีออกเหลืองคล้ายกับเนื้อทองผสมมาก หากไม่ได้นำพระกริ่งทั้งสองเนื้อมาเทียบสีกันก็ยากที่แยกเนื้อออกได้
แต่โชคดีที่ผมได้เห็นพระผ่านมือจำนวนมาก จึงสามารถสังเกตุเห็นความแตกต่างได้ ซึ่งจะได้ถูกนำเอาเผยแพร่ที่นี่เป็นที่แรก และรับรองความถูกต้อง100% คือให้ดูที่ตัวอุดกริ่ง
ถ้าเป็นเนื้อนวะสีของตัวอุดกริ่งจะมีสีที่จางกว่าผิวโดยรอบทั่วไป เนื่องจากวิธีอุดกริ่งจะต้องทำการเจาะก้นพระแล้วนำกริ่งใส่เข้าไป จากนั้นก็จะต้องทำการปิดรูที่ใส่กริ่ง
ซึ่งเป็นธรรมดาอยู่เองที่จะไม่สามารถหาเนื้อนวะมาอุดกริ่งได้เพราะไม่มีเนื้อนวะเหลือเนื่องจากสร้างพระครั้งแรก จึงต้องนำเนื้อทองเหลืองมาอุดแทนเพราะหาได้ง่ายกว่า
ซึ่งทำให้สีของตัวอุดกริ่งจางกว่าผิวโดยรอบนั่นเอง และในขณะเดียวกันตัวอุดกริ่งของเนื้อทองผสมก็จะเข้มกว่าผิวโดยรอบด้วย หลักการนี้ใช้เหตุผลด้านวิทยาศาสตร์นะครับ
ไม่ได้นั่งเทียนเขียนเอาเอง ถ้าไม่ถูกจริงเอาพระกริ่งสิทธัตโถแท้มาปาหัวผมได้เลย แต่ผมขอยึดพระไม่คืนนะครับ
-พระกริ่งพิมพ์แต่ง แต่งใหม่ แตกต่างจาก แต่งเก่า ยังไง
ในความเห็นของผม แต่งเก่า หมายถึง พระกริ่งที่ได้รับการแต่งพระจากวัดที่ทำการสร้างพระเท่านั้น ส่วนแต่งใหม่ ก็คือ ผู้บูชาพระกริ่งได้นำพระไปให้บุคคลอื่นทำการแต่งพระในภายหลัง
จากที่ได้รับพระจากวัดที่จัดสร้างแล้ว ซึ่งในความเป็นจริงมีพระจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้รับการแต่งพระจากวัดบรมฯ ได้นำพระกริ่งไปให้ช่างวัดสุทัศน์ทำการแต่งพระตั้งแต่ได้รับพระมาใหม่ๆ
ซึ่งคนทั่วไปก็อาจมองว่าเป็นการแต่งเก่า เพราะแต่งพระมาตั้งแต่ปี 2508 ก็ว่าได้ แต่จากคำจำกัดความที่ผมได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น จะต้องถือเป็นพระที่แต่งใหม่เช่นกัน
เพราะพระกริ่งนั้นไม่ได้รับการแต่งพระจากพระครูสังฆ์นั่นเอง ถ้าไม่ถือคำจำกัดความตามที่ผมได้กล่าวไว้แล้ว พระที่แต่งใหม่วันนี้ ก็ต้องเป็นแต่งเก่าในอนาคตเสมอ
จึงจำเป็นจะต้องตีความหมายให้เป็นหลักสากลเสมอกัน
-พระกริ่งสิทธัตโถพิมพ์แต่ง เกศทองคำ
สรุปง่ายๆนะครับ ขอสงวนไม่ให้เหตุผลด้วยนะครับว่าผมไม่เล่นพระพิมพ์นี้ (ยกเว้นว่าราคาถูก)
-พระกริ่งสิทธัตโถรุ่นแรก ราคาสูงมาก จนปัญญาจะครอบครอง แนะนำใช้พระเครื่องอะไรแทนดี
ในพิธีเดียวกัน นอกจากมีพระกริ่งแล้ว ยังมีเหรียญหลวงพ่อกวน วัดหนองหลวงอีกด้วย ซึ่งร่วมในพิธีเดียวกันเพียงแต่ไปออกที่วัดหนองหลวง จังหวัดลพบุรี
โดยมีการสร้าง 2 เนื้อคือ เนื้ออัลปาก้า และ เนื้อทองแดง อย่างละ 500 เหรียญ(จำนวนการสร้างน้อยกว่าพระกริ่ง) โดยเนื้ออัลปาก้าจะใช้บล็อกวงเดือน
ส่วนเนื้อทองแดงจะเป็นบล็อกสายฝน แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นบล็อกวงเดือนซึ่งหายากมากและมักไม่ค่อยสวย
เนื่องจากเนื้ออัลปาก้าแข็งจนทำให้บล็อกสึกเมื่อนำมาปั๊มเหรียญทองแดงจึงมักไม่ค่อยสวย แต่ก็จะมีจำนวนหนึ่งที่ใช้บล็อกวงเดือนมาลองกับเหรียญทองแดงก่อน
ก็จะปั้มออกมาได้สวยแต่ก็หาได้ยากมากๆ ปัจจุบันยังไม่พบพระเก๊ จึงน่าสะสมเล่นหาเป็นอย่างยิ่ง (ผมเองก็ห้อยเหรียญนี้แทนพระกริ่งครับ)